4/3/57

คำเป็น-คำตาย-คำครุ-คำลหุ

ลักษณะคำเป็น
1.จะประสมกับสระเสียงยาว เช่น ยา มี ดู โอ้
2.จะมีตัวสะกดอยู่ในแม่ กง กน กม เกอว เกย เช่น มอง กัน จม แมว 
3.คำที่ประสมกับสระเกิน คือ อำ ไอ ใอ เอา เช่น เรา ได้ จำ ใจ 


ลักษณะคำตาย
1.จะประสมกับสระเสียงสั้น เช่น กะปิ ฉุ อุ เอ๊ะ เลอะเทอะ
2.วิธีจำง่าย ๆ คือ กบด เอ็งตาย (กบฏ) เช่น จด มัก ตบ

คำครุ -ลหุ มีความสำคัญต่อการแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งเป็นคำประพันธ์ที่บังคับว่าต้องใช้ คำครุ และ ลหุ ในการแต่งตามฉันทลักษณ์ที่กำหนดไว้ นักเรียนจึงต้องเรียนรู้และสังเกตได้ว่า ลักษณะของ คำครุและลหุ ว่า เป็นอย่างไร

ลักษณะคำครุ
1.จะประสมกับสระเสียงยาว เช่น เจอ รู้ น้า พี่
2.จะมีตัวสะกดได้ทุกแม่ เช่น จิ้งจก ดม งด แจว เลย ดิ้น ปน

นักเรียนจะสังเกตได้ว่า คำครุ กับ คำเป็น ที่เราเรียนมาแล้ว จะมีทั้งข้อเหมือนและข้อต่าง ดังนี้

ความแตกต่างระหว่างคำเป็นกับคำครุ คือ คำครุ จะสามารถมีตัวสะกดได้ทุกแม่ แต่คำเป็นมีตัวสะกดที่ยกเว้น คือ แม่ กบด

ความเหมือนกันของคำเป็นกับคำครุ คือ มีคุณสมบัติเพียงข้อใดข้อหนึ่ง ก็เป็นคำเป็น หรือ เป็นคำครุได้แล้ว

ลักษณะคำ ลหุ
1.จะประสมกับสระเสียงสั้น เช่น นะ จุ โอ๊ะ เอะอะ
2.ต้องไม่มีตัวสะกดทุกแม่

       ความแตกต่างระหว่างคำตายกับ คำลหุ คือ คำลหุ จะต้องไม่มีตัวสะกด แต่คำตาย มีตัวสะกดได้ 3 แม่ คือ แม่ กบด และคำลหุ บังคับคุณสมบัติ 2 ประการ แต่ คำตายบังคับคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียว

       ความเหมือนกันระหว่างคำตายกับคำลหุ คือ ต่างต้องประสมกับสระเสียงสั้น

ขอขอบคุณ      http://www.bloggang.com/viewblog.php?